วงจรชีวิตยุง

วงจรชีวิตยุง

วงจรชีวิตยุง

วงจรชีวิตของยุง

ใน ประเทศไทยมีประมาณ 400 ชนิด ยุงบาง ชนิดแค่ก่อความรำคาญโดยการดูดกินเลือดคนและสัตว์เลี้ยงเป็นอาหารเท่านั้น แต่ก็ มียุงอีกหลายชนิดซึ่งนอกจากจะดูดกินเลือดเป็นอาหารแล้ว ยัง เป็นพาหะนำโรคร้ายแรงต่างๆ มาสู่คนและสัตว์อีกด้วย ซึ่ง นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งการที่จะควบคุมยุงให้ได้ผลดีนั้นจะต้องเรียนรู้ ยุงให้ถ่องแท้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีววิทยา ของยุงซึ่งรวมทั้งวงจรชีวิต อุปนิสัยของยุง ถิ่นที่อยู่ และ แหล่งเพาะพันธุ์

วงจรชีวิติของยุง จะมี 4 ระยะ

                  ได้แก่ ระยะเป็นไข่ (egg stage) ระยะตัวอ่อน (larva stage) ระยะเป็นดักแด้(pupa stage)และระยะตัวเต็มวัย (adult stage) ซึ่งยุงจะมีวงจรชีวิต 9-14 วัน ตัวเมียอายุประมาณ 1-3 เดือน ตัวผู้อายุประมาณ 6-7 วัน ยุงแต่ละตัววางไข่ได้ 3-4 ครั้ง จำนวน 50-300 ฟองต่อครั้ง ยุงตัวเมียเมื่ออายุได่ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของรังไข่ ส่วนยุงตัวผู้จะดูดน้ำหวานเพื่อดำรงชีวิต หลังจากดูดเลือดเมื่อไข่สุกเต็มที่ ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก

EP-327 600px

 

ยุงก่อให้เกิดโรคร้ายอะไรบ้าง

ทราบกันอยู่แล้วว่ายุงนั้นเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกที่มักระบาดในช่วงหน้าฝน แต่จริงๆแล้วโรคที่มากับยุงนั้นไม่ได้มีแค่ไข้เลือดออกเท่านั้น ยังมีอีกหลายโรคที่เดียวที่ความร้ายกาจไม่แพ้ไข้เลือดออกจริงๆ ยิ่งในช่วงนี้ที่ฝนเริ่มตกปรอยๆเป็นระยะๆ ถือว่าเป็นช่วงไฮซีซันของยุงจริงๆ วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักโรคที่มากับยุงกันค่ะเผื่อว่าคนในครอบครัวเกิดมีอาการบางอย่างรู้ไว้ใช้ว่าจะได้แก้ไขกันทัน
ยุงก่อให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย
โรคมาลาเรียนั้นเกิดจากยุงก้นปล่อง เป็นโรคติดต่อที่พบในเขตร้อน โดยเฉพาะบ้านเราเองก็มีรายงานว่าพบผู้ป่วยมาลาเรียแต่พบเฉพาะในเขตป่าเขาบริเวณชายแดนของประเทศไทย ดังนั้นใครที่ชอบไปท่องเที่ยวธรรมชาติก็ขอให้ระมัดระวังตัวกันด้วยนะคะ โดยอาการป่วยของโรคนี้คือจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เบื่ออาหาร ถ้าอาการหนักขึ้นอาจเกิดภาวะไตวายและเสียชีวิตได้ โดยอาการจะแสดงหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1สัปดาห์ – 2 เดือน
ยุงก่อให้เกิดโรคเท้าช้างโรคเท้าช้าง
โรคเท้าช้างเป็นอีกโรคยุงเป็นพาหะ มักพบในทวีปเขตร้อน สำหรับในประเทศพบมากในภาคใต้ อาการที่เกิดนั้นจะเกิดจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นจากพยาธิตัวกลมที่ถูกปล่อยจากยุงนั้น จะไปทำลายระบบไหลเวียนของท่อน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในท่อน้ำเหลือง และอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายจะบวมขึ้น และอาจเกิดการติดเชื้อบริเวณดังกล่าวเพิ่มอีก แต่หากคนที่มีภูมิคุ้มกันดีโรคก็จะไม่แสดงอาการค่ะ
ยุงก่อให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ
โรคนี้เกิดจากการที่ยุงนั้นพาเชื้อมาจากหมู พบมากในประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดที่มีการเลี้ยงหมู ว่ากันว่าผู้ได้รับเชื้อ 300 คน จะเป็นโรคซัก 1 คน แม้ว่าอัตราการป่วยจะน้อยแต่ก็อย่าประมาทไปนะคะ อาการของโรคนี้คือ ปวดศีรษะ มีไข้สูง ประมาณ 1-7 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มคอแข็ง เพ้อคลั่ง ไม่มีสติสัมปชัญญะ และผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้เลยทีเดียว โรคนี้ยังไม่มีทางรักษาแต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดยา และพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการค่ะ

ยุงก่อให้เกิดโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุณกุนย่า)
โรคนี้พบว่าเกิดการระบาดในทางตอนใต้ของประเทศไทย แต่มีการจำกัดพื้นที่ทำให้โรคนี้ไม่แพร่ระบาดไปยังส่วนอื่นๆ ของประเทศ สำหรับอาการของโรคนี้ก็จะคล้ายๆกับโรคไข้เลือดออกคือ มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ มีผื่นแดงตามร่างกาย แต่สำหรับโรคนี้จะมีแถมว่าหน่อยคืออาการปวดตามข้อต่างๆ บางครั้งอาจมีการอักเสบที่รุนแรงมากจนขยับข้อไม่ได้ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาเฉพาะโรคนี้ มีแต่การรักษาตามอาการค่ะ
หน้าฝนนี้ก็ระมัดระวังตัวเองและครอบครัวจากโรคที่มากับยุงพยายามทายากันยุงเวลาอยู่ข้างนอกและหากจะไปเที่ยวป่าก็ควรมีมุ้งหรือนอนในเต๊นท์เพื่อป้องกันยุง นอกจากนี้แม้ว่าจะไม่โดนยุงกัดแต่หากโดนฝนละก็อาจจะมีไข้และปวดหัวได้เช่นกัน

 
อ้างอิง......www.bt-pct.com

13 กรกฎาคม 2561 87930

ข่าวสาร/บทความ

ยุงร้ายกว่าเสือ
ยุงร้ายกว่าเสือ

ได้ยินกันมานานแล้วเรื่องความร้ายกาจของยุง และยังร้ายกว่าเสือ ประมาณว่ามีการออกโรงรณรงค์กำจัดยุงทั้งยุงเด็ก ยุงแก่ รวมลูกน้ำ มาตั้งแต่หมอยังเด็กๆ

  • 20 กุมภาพันธ์ 2564
  • 4207
กรมควบคุมโรค เตือนภาคใต้หลังน้ำลด ระวังไข้เลือดออกระบาด
ระวัง!