ชนิดของยุง วงจรชีวิตยุง และการนำโรคต่างๆ

ชนิดของยุง วงจรชีวิตยุง และการนำโรคต่างๆ

ยุง เป็นสัตว์ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เราทราบกันดีว่ายุงนำโรคมาสู่คน แต่ในปัจจุบันจะรู้จักกันว่าเป็นสัตว์ตัวเล็ก ที่คอยกัดคนรบกวนก่อความรำคาญทั้งกลางวัน และกลางคืน

ชนิดของยุงและการนำโรค

ยุงถ้าสังเกตลักษณะจะมีหลายชนิด จากการศึกษาพบว่ามีเป็นพัน ๆ ชนิดและอาศัยในทั้งที่ราบที่สูง ในบ้านและนอกบ้าน ชอบดูดกินเลือดของคนและสัตว์ ยุงในเมืองโดยส่วนใหญ่รู้จักกัน 4 ชนิด คือ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงดำ และยุงรำคาญ

1. ยุงก้นปล่อง

ยุงก้นปล่อง เป็นยุงที่สังเกตได้คือ เวลาเกาะหรือกำลังดูดเลือด ลำตัวจะทำมุมกับพื้นยึดเกาะ 45 องศา ยุงก้นปล่องเป็นยุงนำโรคไข้ป่า หรือโรคไข้มาเลเรีย อาศัยได้หลายที่ เช่น บ้าน ในป่า และภูเขา จึงพบมากในชนบทที่อยู่แถวชายป่า ชอบไข่ในน้ำไหลริน ในแอ่งน้ำสะอาด ยุ่งนี้ชอบกัดคนในเวลาพลบค่ำ ตอนดึก และเช้าตรู่

2. ยุงลาย

ยุงลายเป็นยุงมีลำตัวและขาสลับดำ ยุงลายเป็นยุงนำโรคไข้เลือดออก และไข้สมองอักเสบ ชอบกัดคนและสัตว์เลี้ยงในเวลากลางวัน หรือตอนเย็นๆ

3. ยุงดำ

ยุงดำเป็นยุงมีสีดำปนน้ำเงินที่ลำตัว ชอบกัดคนตอนหัวค่ำ ตอนดึกและตอนเช้าตรู่ ยุงดำเป็นยุงนำโรคเท้าช้าง ซึ่งเชื้อของโรคนี้มักพบมากในแถวชนบท ทางภาคใต้ของประเทศไทย

4. ยุงรำคาญ

ยุงรำคาญหรือยุงธรรมดา ตัวไม่โต ลำตัวมีสีเทา ขาและปีกไม่ลาย ชอบอยู่รอบๆ บ้าน และในบ้าน กัดคนไม่เลือกเวลา ยุงนี้ไม่นำโรค แต่กัดเจ็บคัน ๆ ทำให้รำคาญ


วงจรชีวิตของยุง

ยุงจะพบตลอดปี แต่จะชุกชุมในฤดูร้อน ฤดูฝน พอเข้าฤดูหนาวจะลดลงมาก ยุงจะมีชีวิตนานนับเป็นเดือน และหากมีอาหารสมบูรณ์ก็จะมีอายุหลายเดือน วงจรชิตของยุงมี 4 ระยะ

1. ระยะไข่ ยุงตัวเมียผสมพันธุ์แล้ว จะวางไข่ในแหล่งน้ำ

ยุงก้นปล่อง : น้ำสะอาด ไหลริน

ยุงลาย, ยุงดำ, และยุงรำคาญ : ในน้ำนิ่ง น้ำขัง น้ำสะอาดและไม่สะอาด จะฟักเป็นตัวอ่อน (ลูกน้ำ) ในเวลาไข่มีอายุ 2-3 วัน

2. ระยะตัวอ่อน หรือลูกน้ำ จะอยู่ในน้ำ เจริญเติบโตหากินในน้ำนาน 5-10 วัน จะกลายเป็นตัวแก่ หรือตัวโม่ง

ยุงก้นปล่อง : ลูกน้ำจะลอยตัวทำมุม 90 องศา กับผิวน้ำ

ยุงชนิดอื่น : จะขนานกับผิวน้ำ

3. ระยะตัวโม่ง จะหยุดกินอาหารอยู่นาน 2-3 วัน ลอกครอบฟักออกเป็นตัวยุง

4. ระยะตัวยุง มักจะมีปีก และเกาะผิวน้ำชั่วครู่ จากนั้นจะแข็งแรง พอปีกแห้งแล้วบินออกไปกัดกินอาหาร เลือด เพื่อเจริญเติบโต และแพร่พันธุ์ต่อไป


การควบคุมป้องกันและกำจัดยุง

การป้องกันโรคที่เกิดจากยุง วิธีที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยกางมุ้ง, ห้องบุมุ้งลวด หรือใช้ยาทาไล่ยุง ขณะเดียวกันหาวิธีลดจำนวนยุงลง โดยกำจัดทั้ง 4 ระยะ จากนั้นมีการควบคุมไม่ให้ยุงเกิดมาได้อีก ซึ่งเป็นงานค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยความร่วมมือทุกคน ทุกบ้าน ที่ทำการทำลายยุงพร้อม ๆ กัน ทั้งหมู่บ้าน

วิธีที่ร่วมกันกำจัดยุง

  1. ทำลายแหล่งของยุง โดยถมบริเวณน้ำขัง คว่ำภาชนะที่น้ำขัง โอ่งน้ำ ถังน้ำให้มีฝาปิดมิดชิด เพื่อมิให้ยุงลงไปออกไข่ได้
  2. ทำลายตัวอ่อน หากแอ่งน้ำใหญ่เกินขนาดที่จะถม หรือระบายน้ำทิ้งก็อาจจะหาปลาที่กินลูกน้ำ เช่น ปลากัด ปลาหางนกยูง เป็นต้น หรืออาจจะใช้ยาฆ่าลูกน้ำ หรือน้ำมันลาดที่เกิดฝ้าที่ผิวน้ำตัวอ่อน และตัวโม่งจะหายใจไม่ได้ก็จะตาย
  3. กำจัดตัวยุง ได้มีผู้พยายามหลายวิถีทางในการกำจัด ที่สะดวกแต่ละบ้านก็คือ พ่นยาฆ่ายุง หรือไล่ยุงตามซอกตามห้องมืดที่ยุงอาศัย ควรพ่นยาในตอนพลบค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่ยุงจะเริ่มออกหากินอีกวิธีก็คือการตีให้ตาย

 

อ้างอิงจาก.........https://www.honestdocs.co

21 มิถุนายน 2561 48503

ข่าวสาร/บทความ

ยุงร้ายกว่าเสือ
ยุงร้ายกว่าเสือ

ได้ยินกันมานานแล้วเรื่องความร้ายกาจของยุง และยังร้ายกว่าเสือ ประมาณว่ามีการออกโรงรณรงค์กำจัดยุงทั้งยุงเด็ก ยุงแก่ รวมลูกน้ำ มาตั้งแต่หมอยังเด็กๆ

  • 20 กุมภาพันธ์ 2564
  • 4152
กรมควบคุมโรค เตือนภาคใต้หลังน้ำลด ระวังไข้เลือดออกระบาด
ระวัง!